DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครเล่น DISCORD เช็กด่วนก่อนถูกแฮ็ก

Loading

อ้างอิง bleepingcomputer     DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครใช้บริการดังกล่าวรีบตรวจสอบบัญชี DISCORD ของคุณด่วน   ทั้งนี้ DISCORD.IO ไม่ใช่ไซต์ Discord อย่างเป็นทางการ แต่เป็นบริการ Third Party ที่ช่วยให้เจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถสร้างคำเชิญกำหนดชื่อช่อง DISCORD ให้ง่ายขึ้นได้   ล่าสุดเว็บไซต์ DISCORD.IO ประกาศปิดให้บริการ โดยแสดงข้อความว่า “เรากำลังหยุดการดำเนินการทั้งหมดในอนาคตอันใกล้”   และนี่คือสิ่งที่ข้อมูลกว่า 760,000 ID ใน DISCORD.IO ถูกขายใน Dark Web โดยแฮ็กเกอร์     ผู้ใช้ DISCORD ควรทำอย่างไร   •   หากคุณใช้ DISCORD แต่ไม่ใด้ใช้ DISCORD.IO โชคดีคุณยังปลอดภัย แต่ดีสุดก็เปลี่ยนรหัสด้วยจะดีมาก   •   หากคุณใช้…

นักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ค้นพบความเสี่ยงในสมาร์ตโฟน Android จากมัลแวร์ EarSpy

Loading

ภาพ : Getty Images   เมื่อ 28 ส.ค.66 เว็บไซต์ TEXAS A&M Today ของมหาวิทยาลัย Texas A&M สหรัฐฯ รายงานบทความ ระบุว่า ทีมนักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์จาก Texas A&M และสถาบันอื่น ๆ อีกสี่แห่ง ได้สร้างซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือมัลแวร์ ที่เรียกว่า EarSpy เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบน สมาร์ตโฟน Android โดยพบว่าสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้   EarSpy ใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสั่นสะเทือนของลำโพงที่บันทึกโดยเซนเซอร์ตรวจจับของสมาร์ตโฟน สามารถระบุเพศของผู้พูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 98.6 ผู้พูดเป็นผู้โทรซ้ำด้วยความแม่นยำร้อยละ 91.6 ตรวจจับคำพูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 45-90 มัลแวร์ยังจดจำตัวเลขที่พูด โดยเฉพาะตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 โดยมีความแม่นยำร้อยละ 56 ซึ่งสูงกว่าการคาดเดาแบบสุ่มถึงห้าเท่า   การวิจัยมุ่งเน้นไปที่สมาร์ตโฟน Android เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้งจากผู้ใช้ รวมถึงสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ซึ่งผู้ผลิตบางรายกำลังปรับเปลี่ยนลำโพงที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับวิดีโอและการสตรีม ทำให้อัลกอริทึมสามารถตรวจจับข้อมูลได้ดีขึ้น จากผลลัพธ์นี้…

FBI แจ้งเตือนแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือกำลังพยายามขายบิตคอยน์ แจ้ง 6 บัญชีที่อย่าไปยุ่งเกี่ยว

Loading

    FBI แจ้งเตือนว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ Lazarus Group หรือ APT38 น่าจะกำลังพยายามขายบิตคอยน์ที่ได้มาจากการแฮ็กครั้งต่าง ๆ รวม 1,580 BTC   โดยเกี่ยวข้องกับบัญชีดังต่อไปนี้ •  3LU8wRu4ZnXP4UM8Yo6kkTiGHM9BubgyiG •  39idqitN9tYNmq3wYanwg3MitFB5TZCjWu •  3AAUBbKJorvNhEUFhKnep9YTwmZECxE4Nk •  3PjNaSeP8GzLjGeu51JR19Q2Lu8W2Te9oc •  3NbdrezMzAVVfXv5MTQJn4hWqKhYCTCJoB •  34VXKa5upLWVYMXmgid6bFM4BaQXHxSUoL   คำเตือนระบุว่าภาคเอกชนควรวางระบบบล็อคเงินบิตคอยน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบิตคอยน์ที่มาจากบัญชีเหล่านี้โดยตรง หรือจะเป็นการโอนไปยังบัญชีอื่น ๆ     ที่มา – FBI.gov       ————————————————————————————————————————————- ที่มา :                    Blognone by lew …

ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …

แฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือ 2 กลุ่มแฮ็กบริษัทขีปนาวุธรัสเซีย

Loading

  นักวิจัยจาก SentinelOne ชี้แฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่รัฐบาลเกาหลีเหนือหนุนหลังเข้าแฮ็ก NPO Mash บริษัทวิศวกรรมขีปนาวุธจากรัสเซียตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว   NPO Mash หรือชื่อเต็มคือ NPO Mashinostroyeniya ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรอยตอฟ ใกล้กับกรุงมอสโกถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า ScarCruft และ Lazarus แฮ็กมาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 2021   บริษัทแห่งนี้เป็นผู้นำในด้านการผลิตขีปนาวุธและยานอวกาศให้แก่กองทัพรัสเซียและครอบครองข้อมูลละเอียดอ่อนขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีขีปนาวุธ   SentinelOne พบข้อมูลการแฮ็กนี้เมื่อเจอเข้ากับชุดข้อมูลการสื่อสารภายในที่เจ้าหน้าที่ไอทีของ NPO Mash ทำหลุดออกมาระหว่างการตรวจสอบการแฮ็กโดยเกาหลีเหนือ ซึ่ง NPO Mash พบการโจมตีนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว   การตรวจสอบพบว่า ScarCruft ได้เข้าเจาะเซิร์ฟเวอร์อีเมล Linux ของ NPO Mash ขณะที่ Lazarus แอบฝังแบ็กดอร์หรือทางลัดดิจิทัลที่ชื่อ OpenCarrot ในเครือข่ายภายในของบริษัท   สำหรับ ScarCruft (หรือ APT37) เกี่ยวข้องกับกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (MSS) ของเกาหลีเหนือ…

กกต. สหราชอาณาจักรเผยแฮ็กเกอร์ทำข้อมูลรั่ว หน่วยข่าวเชื่อเป็นฝีมือรัสเซีย

Loading

  คณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรออกมาขอโทษกรณีพบการแฮ็กที่มีความซับซ้อนโดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในเดือนตุลาคม 2022 แต่การแฮ็กจริงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แล้ว   การแฮ็กนี้ทำให้ข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่อและที่อยู่ระหว่างปี 2014 – 2022 หลุดออกมา   สำนักข่าว The Times และ The Telegraph เผยว่าบรรดาหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรพบหลักฐานที่เชื่อมยังการโจมตีเข้ากับรัฐบาลรัสเซีย   เซอร์ เดวิด โอมานด์ (Sir David Omand) อดีตผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองสัญญาณของสหราชอาณาจักร เชื่อว่ารัสเซียน่าจะอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ เช่นเดียวกับ เซอร์ ริชาร์ด เดียร์เลิฟ (Sir Richard Dearlove) อดีตผู้อำนวยการ MI6 ที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน   กรณีนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า กกต. อาจไม่สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ทางองค์กรชี้ว่าความเสี่ยงที่การแฮ็กดังกล่าวจะส่งผลต่อการเลือกตั้งนั้นมีน้อยนิด เพราะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำด้วยกระดาษ   อย่างไรก็ดี ชอน แม็กแนลลี (Shaun McNally) ประธาน กกต.…