มุ่งสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

Loading

    ประเทศไทยมีความคืบหน้าเชิงประจักษ์ให้เห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีความท้าทายหลายประการในการกำกับดูแลข้อมูลของภาครัฐ ที่ต้องได้รับการแก้ไข   เพื่อให้แน่ใจว่าพลเมืองทุกคนจะถูกรวมอยู่ในการสำรวจระดับชาติ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย   รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในปี 2565 ได้เสนอประเด็นสำคัญที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ไว้หลายประการ รวมถึงมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้ข้อมูลของภาครัฐทั้งจากภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงข้าราชการต่างกรมต่างกระทรวงกัน   ปัญหาหลักของข้อมูลไทยมีหลายประการ เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล   ในปัจจุบัน คุณภาพของข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานของรัฐต่างๆ นั้นยังไม่สอดคล้องกัน บางแห่งมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือยังทำความสะอาดข้อมูลไม่มากพอ ทำให้ยากต่อการนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย   ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมต่อของฐานข้อมูล และมีการแบ่งปันข้อมูลอย่างจำกัดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากการทำงานแยกกันในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล   ทำให้ยากสำหรับผู้กำหนดนโยบายภาคธุรกิจและประชาชนในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงานอย่างสะดวกและทันท่วงที   ปัญหาอีกประการที่สำคัญ คือ การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด ในขณะที่ไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคสาธารณะผ่านโครงการ Open Data Thailand แต่ยังพบว่าหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ   ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเพียง 8,180 ชุดข้อมูล เมื่อเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐเมริกา ผ่าน Data.gov ที่มีปริมาณชุดข้อมูล 335,000 ชุดข้อมูล หรือเทียบว่าไทยเปิดข้อมูลเพียงร้อยละ…