Meta ประกาศลบบัญชี IO จีน ออกจากเฟซบุ๊ก 7,700 บัญชี พบกระจายตัวกว่า 50 แพลตฟอร์ม

Loading

  บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการปฏิบัติการ IO ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีพฤติกรรมอวยจีน-ด่าตะวันตก พบเชื่อมโยงกับผู้บังคับใช้กฎหมายในจีน   รายงานด้านความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของ Meta เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เผยว่า ได้มีการตรวจพบปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ (IO) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และได้ทำการลบบัญชีปลอมบนเฟซบุ๊กไปราว 7,700 บัญชี และบัญชีปลอมบนอินสตาแกรมอีก 15 บัญชี   สำหรับพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้ จะมีเนื้อหาเชิงบวกต่อจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการวิพากษ์วิจารณ์การนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อีกทั้งยังโจมตีผู้วิจารณ์รัฐบาลจีน รวมไปถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการ   ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของจีนในลักษณะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า สแปมมูฟลาจ (Spamouflage) ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามจัดการมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเครือข่ายนี้มีการเล็งเป้าไปยังหลายพื้นที่ เช่น ไต้หวัน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประชากรที่ใช้ภาษาจีนทั่วโลก   Meta ยังพบว่าปฏิบัติการดังกล่าวกระจายตัวไปกว่า 50 แพลตฟอร์ม ทั้งแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, Instagram, TikTok,…

รอยเตอร์ รายงานผู้คนเชื่อถือสื่อเดิมน้อยลง หันมาใช้ TikTok รับข่าวมากขึ้น

Loading

  รอยเตอร์ ได้เผยรายงานเกี่ยวกับผู้คนในยุคปัจจุบันที่หันมาใช้ TikTok เสพข่าวมากขึ้น จากสถิติปี 2565 พบว่า ไทยมีผู้ใช้งาน TikTok สูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลกมากถึง 35.6 ล้านคน   TikTok นับว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเข้าถึงและสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มาก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คนหันไปดูคลิปสั้น ค้นหาข่าวสารต่าง ๆ     จากสถิติปี 2565 พบว่า ไทยมีผู้ใช้งาน TikTok สูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลกมากถึง 35.6 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีผู้ใช้งานมากสุดเป็นของสหรัฐฯ จำนวน 120.8 ล้านคน   นอกจากนี้ถ้าย้อนไปดูข้อมูลตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ผู้ใช้เด็กและวัยรุ่น มีการค้นหาสิ่งที่สนใจใน TikTok มากกว่า YouTube ไปเรียบร้อยแล้ว และสถิติได้เผยว่าเด็กและวัยรุ่นใช้เวลาเฉลี่ย 91 นาทีต่อวันบนแอปฯ TikTok…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

จีนกวาดล้างโพสต์โซเชียลมีเดียกว่า 1.4 ล้านรายการ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวว่า โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.4 ล้านโพสต์ถูกลบ หลังจากการสอบสวนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน การแสวงหาผลกำไรที่ผิดกฎหมาย และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเวลา 2 เดือน   หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน หรือ ซีเอซี กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า ได้ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย 67,000 บัญชี และลบโพสต์หลายแสนรายการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 22 พฤษภาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จีนได้กำหนดเป้าหมายบัญชีโซเชียลมีเดียหลายพันล้านบัญชี เพื่อพยายาม “ทำความสะอาด” พื้นที่ไซเบอร์สเปซของตน และทำให้ทางการสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น   การปราบปรามครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่บัญชีบนแอปโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน เช่น วีแชต (WeChat), โต่วอิน (Douyin) และ เว่ยป๋อ (Weibo) ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลทั่วไป แต่ไม่ได้ดำเนินการ หรือได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลหรือรัฐ   ทางการมักจับกุมพลเมืองและเซนเซอร์บัญชีสำหรับการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่มีความละเอียดอ่อน หรือวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล หรือกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวงกว้าง   ตามรายงานของซีเอซี…

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

‘เวียดนาม’ จ่อบังคับ ‘ยืนยันตัวตน’ คนใช้โซเชียลมีเดีย หวังปราบโกงออนไลน์

Loading

    “เวียดนาม” เตรียมกำหนดให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ของแพลตฟอร์มทั้งในและต่างประเทศ ต้องยืนยันตัวตน ในความพยายามที่จะควบคุมการโกงออนไลน์   สำนักข่าววอยซ์ ออฟ เวียดนาม (วีโอวี) ของทางการเวียดนาม รายงานว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายโทรคมนาคมฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีกำหนดประกาศใช้ภายในสิ้นเดือนนี้ จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สามารถติดตามผู้กระทำความผิดด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือฝ่าฝืนกฎหมาย   นายเหวียน ถั่น หลำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสารเวียดนาม ระบุว่า มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่สามารถระบุเจ้าของบัญชีโซเชียลมีเดียที่ละเมิดกฎหมาย แต่ไม่สามารถติดตามพวกเขาได้ เนื่องจากอาชญากรเหล่านั้นใช้แอปพลิเคชันข้ามพรมแดน   “บัญชีที่ไม่ได้รับการยืนยัน ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มในประเทศ หรือต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และยูทูบ จะถูกรวมไว้ในมาตรการใหม่ด้วย”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ผู้ใช้ทั้งรายบุคคล และองค์กรจะอยู่ภายใต้มาตรการนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการบางรายไม่ได้เสนอการยืนยันตัวตนในเวียดนามในปัจจุบัน   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังต่อรอการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของเวียดนาม และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ออกมา   การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังมีขึ้นหลังเมื่อปี 2565…