สิงคโปร์สั่งเฟซบุ๊กบล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ปิดปากพวกวิพากษ์วิจารณ์

Loading

เอเอฟพี – สิงคโปร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) ออกคำสั่งถึงเฟซบุ๊กให้บล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการใช้กฎหมายจัดการกับการให้ข้อมูลผิดๆ แต่ถูกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมตรีสั่งแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆวางคำเตือนไว้ใกล้กับโพสต์ข้อความทั้งหลายที่พวกเขามองว่าเป็นข้อมูลผิดๆ เช่นเดียวกับสามารถสั่งบล็อคเพจต่างๆเหล่านั้นจากการเข้าถึงของพวกผู้ใช้ภายในเมืองที่คุมเข้มกฎระเบียบแห่งนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เว็บไซต์การเมืองอย่าง States Times Review (STR) ซึ่งมักโพสต์หัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม ถ้อยแถลงจากกระทรวงสื่อสารระบุว่าเฟซบุ๊กได้รับแจ้งให้บล็อคพวกผู้ใช้สิงคโปร์จากการเข้าถึงเพจ STR เนื่องจากเพจแห่งนี้ข้อมูลอันเป็นเท็จซ้ำๆและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ขอให้โพสต์ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เพียงแค่ขอให้แก้ไขข้อมูลในโพสต์เฟซบุ๊กให้ถูกต้อง รวมถึงวางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆกับข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่หนนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาหาทางบล็อคเพจเฟซบุ๊กเพจใดเพจหนึ่ง เมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) รัฐบาลออกคำสั่งถึง States Times Review ให้เตือนผู้อ่านบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองว่าพวกเขามักโพสต์ข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ยอมทำตาม เว็บไซต์ States Times Review ถูกกล่าวหาแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในนั้นรวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเว็บไซต์แห่งนี้โพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายงานข่าวระบุว่าเว็บไซต์แห่งนี้ดูแลโดย อเล็กซ์ ตัน ซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นพลเมืองออสเตรเลียที่พักอาศัยอยู่ในต่างแดน เฟซบุ๊กยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวนี้ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน สื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้วางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆข้อมูลที่โพสต์โดยตัน ตามคำร้องขอของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ มีขึ้นท่ามกลางข่าวลือที่ว่าศึกเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายค้านอยู่ในภาวะที่อ่อนแออย่างมากและคงไม่สามารถสู้รบกับพรรครัฐบาลได้ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นประจำต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน ยืนยันว่ากฏหมายนี้มีความจำป็น เพื่อสกัดการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาจก่อความเสียหายในวงกว้าง ——————————————————– ที่มา…

ทวิตเตอร์ออกกฎจัดการ deepfake แสดงข้อความเตือนและลดการมองเห็นของทวีต เริ่มเดือนหน้า

Loading

ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้ ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้ สื่อถูกสังเคราะห์หรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นลำดับ, เวลา, เฟรม ไปจนถึงข้อมูลว่าถูกลบหรือสร้างขึ้นมาหรือไม่ และมีคนจริงถูกจำลองหรือปลอมขึ้นมาหรือไม่ สื่อถูกแชร์ในลักษณะตั้งใจให้โกหกหลอกลวงหรือไม่? พิจารณาจากข้อความในทวีต, เมตะดาต้าที่อยู่ในสื่อ, ข้อความบนโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ และเว็บไซต์ที่ลิงก์ในโปรไฟล์หรือในทวีต คอนเทนต์มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อประชาชน หรืออาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล, ความเสี่ยงในความรุนแรงหรือความไม่สงบในวงกว้าง และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ ทวิตเตอร์จะนำมาพิจารณาในการใส่ข้อความเตือนลงในทวีต, ใส่เครื่องหมาย, ลดการมองเห็นของทวีตโดยไม่ขึ้นเป็นทวีตแนะนำ และเพิ่มรายละเอียดในแลนดิ้งเพจ โดยทวิตเตอร์จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 มีนาคม เป้าหมายของการออกกฎจัดการ deepfake ก็เพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ โดยกฎนี้กำหนดขึ้นจากแบบร่างที่ทวิตเตอร์ได้เสนอก่อนหน้าและรับฟังความเห็นกว่า 6,500 ความเห็นจากผู้ใช้ทั่วโลกผ่านแฮชแท็ก #TwitterPolicyFeedback เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ———————————————————————- ที่มา : Blognone / 5 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114529

อนามัยโลกจับมือ ‘กูเกิล’ ต่อสู้การปล่อยข่าวเท็จออนไลน์กรณีโคโรนาไวรัส

Loading

Passengers arrive at LAX from Shanghai, China, after a positive case of the coronavirus was announced in the Orange County suburb of Los Angeles, California, U.S., January 26, 2020. องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำลังทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Google เพื่อรับรองว่า เมื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจาก WHO ก่อนเป็นที่แรก ผอ.ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก เทดรอส อัทนอม เกเบรเยซุส กล่าวในพิธีเปิดการประชุมของ WHO ในวันจันทร์ว่า สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Tencent และ TikTok ต่างใช้มาตรการหลายอย่างในการจำกัดการกระจายข้อมูลผิด…

YouTube ออกมาตรการ แบนคลิปที่จงใจให้ข้อมูลเลือกตั้งผิด รับมือการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020

Loading

หลังจากทวิตเตอร์เปิดให้ผู้ใช้รายงานบัญชีและโพสต์ที่แนะนำข้อมูลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แบบผิดๆ ล่าสุด YouTube ก็ออกมาตรการแบนวิดีโอที่พยายามชี้นำการเลือกตั้งที่มีข้อมูลผิดด้วย YouTube ระบุว่า จะลบวิดีโอที่ละเมิดกฎแพลตฟอร์มดังนี้ วิดีโอที่ถูกปลอมแปลงในลักษณะที่ทำให้คนดูเข้าใจผิด เช่น deepfake เนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงคะแนน หรือให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับวันลงคะแนนเสียง เนื้อหาที่ผู้บรรยายอ้างสิทธิ์ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเลือกตั้ง ที่ไม่เป็นความจริง YouTube ยังบอกด้วยว่าได้ระงับช่องที่พยายามปลอมตัว ปลอมแปลงประเทศที่สังกัด หรือหรือปกปิดความสัมพันธ์กับรัฐบาล และระงับช่องที่ใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มยอดวิว ยอดไลค์ หรือใช้ระบบอัตโนมัติสร้างคอมเม้นท์ เป็นต้น —————————————————- ที่มา : Blognone / 4 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114493

โซเชียลมีเดีย สื่อป่วนโลก : เฟค นิวส์ ข่าวป่วนเมือง

Loading

วิกฤติไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเชื่อว่า ต้นตอของเชื้อโรคมาจากสัตว์ได้สร้างความตื่นตระหนกและเชื้อโรคได้ลุกลามไปหลายประเทศจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศทำให้ประชาชนทั้งโลกต่างอยู่ในภาวะเตรียมรับมือและหาวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งหามาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มข้น สิ่งที่แพร่ออกไปพร้อมๆกันกับเชื้อไวรัสโคโรน่าคือ ข่าวปลอม ที่ถูกสร้างด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง ซึ่งไม่เพียงสร้างความสับสนวุ่นวายต่อสังคมและรัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้วยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาครัฐที่ต้องมานั่งแถลงข่าวการจับผู้ปล่อยข่าวปลอมไม่เว้นแต่ละวันต้องเสียเงินเสียทอง เสียเวลาแก้ข่าวและบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของภาครัฐอยู่ไม่น้อย ข่าวปลอมจากโซเชียลมีเดีย มิใช่เกิดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น การปล่อยข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลเกิดขึ้นกับหลายประเทศในโลกและเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดความรุนแรง เพราะข่าวปลอมสามารถทำให้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดียซึ่งมีผู้ถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียและมีผู้ถูกเผาทั้งเป็นจากการเผยแพร่ข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศเม็กซิโก เป็นต้น ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่ากำลังแพร่ระบาดมีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นต้นว่า ข่าวการเดินทางของคนจีน 5 ล้านคนมายังประเทศไทยที่มีสื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดีย การแพร่ข่าวการติดเชื้อของผู้คนตามสถานที่ต่างๆโดยคิดเอาเองว่า เป็นความจริงหรือแชร์ต่อจากเพื่อน การแพร่ข่าวตลาดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ข่าวและรูปแสดงการกินสัตว์แปลกๆ หรือแม้แต่การแนะนำให้กินสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งข่าวสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวปั้นน้ำเป็นตัวที่มาจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น ข่าวปลอมที่ถูกแพร่ออกมาจากโซเชียลมีเดียในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤติได้สร้างความแตกตื่น รวมทั้งสร้างความเชื่อที่ผิดต่างๆแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้คนยังขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณและใช้สื่อโซเชียลด้วยความคึกคะนองหรือต้องการสร้างเครดิตจากยอดไลค์แก่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ยิ่งจะทวีความสับสนให้กับผู้คนที่บริโภคข่าวผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อตัวแม่ที่ช่วยกระพือข่าวปลอมไปยังทุกมุมโลกด้วยระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที สิ่งน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งจากตัวนักการเมืองเองและพลพรรคที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองโดยใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองในการเผยแพร่ข่าว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าความเห็นที่ไร้ความสร้างสรรค์ต่างๆจะออกมาจากปากของนักการเมืองที่มักถูกเรียกว่า ผู้ทรงเกียรติและชอบอ้างตัวเองอยู่เสมอว่ามาจากประชาชน เพราะแทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์หรือให้กำลังใจต่อรัฐบาลหรือประชาชน แต่กลับเพิ่มความเลวร้ายของสถานการณ์ให้มากขึ้นไปอีกด้วยการฉกฉวยสถานการณ์ปล่อยข่าวด้านลบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก ซึ่งในที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะประจานความไม่เอาไหนของตัวเองแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้สถานการณ์อ่อนไหว รวมถึงลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้แทนราษฎรของประเทศไทยอีกด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่โซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมในภาวะวิกฤติ ประเทศต่างๆล้วนแต่เผชิญปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมไม่แพ้กัน เป็นต้นว่า พม่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรากำลังผจญกับปัญหาข่าวปลอมจากสื่อโซเชียลอยู่เช่นกัน ด้วยความเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีนจึงทำให้ผู้คนในพม่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นพิเศษและมีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษาไวรัสโคโรน่ากันอย่างกว้างขวาง เช่น การแพร่ข่าวว่าหัวหอมมีสรรพคุณช่วยป้องกันไวรัสได้ เพราะพบว่า มีคนป่วยใกล้ตายนำหัวหอมวางไว้ใกล้ตัวขณะนอนแล้วเห็นผลในการรักษาหรือการแพร่ข่าวว่าการดื่มสุราสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้ เป็นต้น การระบาดของข่าวปลอมไม่ได้สร้างความเสียหายต่อมนุษย์เฉพาะในยุคของการเบ่งบานของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบันเท่านั้น ในยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องพิมพ์เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดๆและสร้างความหายนะให้กับมนุษย์ผู้บริสุทธิ์อย่างมากมาย เพราะทันทีที่การพิมพ์ได้เริ่มขึ้นปัญหาความขัดแย้งก็เริ่มปรากฏในชั่วเวลาไม่นาน การแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์ นอกจากจะทำให้ความรู้ของผู้คนเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ได้นำไปสู่เหตุการณ์น่าเศร้าสลด…

เตือนภัย! Line ปลอมระบาด ระวังโดนหลอก

Loading

อาชญากรทุกวันนี้ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการพัฒนาของเทคโนโลยี หลังจากก่อนหน้านี้ มีการทำอีเมลปลอม เฟซบุ๊กปลอม หรือการหาวิธีแฮ็กข้อมูลโซเชียลมีเดียอื่นๆ แล้ว ล่าสุดภัยคุกคามนี้ ก็ได้ก้าวเข้ามาถึงแอปแชทชื่อดังอย่าง “ไลน์” (Line) ทั้งที่เป็นแบบส่วนตัว และเป็น Line Official Account ที่กลุ่มมิจฉาชีพจะใช้ทั้งวิธีแฮ็กข้อมูล  และทำ Line Official Account ปลอม ขึ้นมา  เพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน หรือ หลอกขอข้อมูล วิธีป้องกัน เช็กก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ อย่าดูแค่เลขสมาชิก หรือโปรไฟล์รูป เพราะส่วนนี้สามารถปลอมแปลงได้ มองหาสัญลักษณ์โล่ โดยถ้ามีโล่สีเขียว หรือโล่สีน้ำเงิน แสดงว่าเป็น Account จริงแน่นอนที่ผ่านการรับรองจาก Line แล้ว โดยโล่สามารถดูได้ที่หน้า Profile ของ Line Official Account และโล่ของจริงจะต้องแสดงบนพื้นหลังขาวเท่านั้น หากเจอ Account ปลอม สามารถรายงาน (Report) ได้ง่ายๆ คือ กดปุ่มขวาบนของห้อง…