สแกนคิวอาร์โค้ดโอนเงิน ระวังโดนหลอกโอนเงินไปยังมิจฉาชีพ ตั้งสติก่อนสแกน

Loading

  สแกนคิวอาร์โค้ดโอนเงิน ระวังโดนหลอกโอนเงินไปยังมิจฉาชีพ จากที่เป็นข่าวดัง ทนายโดนแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกให้โอนเงินไปกว่า 1.2 ล้านบาท โดยโอนเงินผ่านการสแกน QR พร้อมเพย์ ซึ่งคนร้าย หลอกว่าเป็น QR รับเงิน ผู้เสียหาย ดำเนินการตามขั้นตอน และเป็นผู้ใส่รหัส สแกนหน้า และโอนเงิน พร้อมยืนยันรายการด้วยตนเองเป็นจำนวน 2 รายการ ซึ่งกลายเป็นโอนให้มิจฉาชีพโดยตรง   รูปแบบที่พบได้บ่อยๆในการหลอกสแกน QR มีดังนี้ •  ส่งข้อความหลอกลวง : อ้างเป็นหน่วยงาน กองทุน บำนาญ แจ้งว่าท่านได้รับเงินช่วยเพิ่มเติม หรือมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ   •  อ้างตัวเป็นการไฟฟ้า การประปา : อ้างว่าช่วงนี้มีการลดหย่อนค่าบริการ สามารถชำระได้ที่ QR Code นี้ เพื่อหลอกให้เหยื่อสแกนแล้วโอนเงิน   •  ใช้ QR Code ปลอมแปะบนเอกสารสำคัญ : หลอกให้เหยื่อสแกนเพื่อโอนเงิน  …

ธปท. แนะวิธีสแกน QR code – โอนเงินอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธี สแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking อย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญหรือกด download จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไป   ในปัจจุบัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวง ให้ผู้เสียหายสแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งหากคนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคาร คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเหยื่อจนหมด   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แนะนำวิธีสแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัยจาก #มิจฉาชีพ โดยระบุว่า   การสแกนจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอป Mobile Banking ต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน     หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น…

ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเว็บศาล หลอกเหยื่อโอนเงิน

Loading

  MGR Online – รองโฆษก ตร. เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นคอลเซ็นเตอร์ ปลอมเว็บศาล หลอกผู้เสียหายกรอกข้อมูลส่วนตัว ระวังตกเป็นเหยื่อ   วันนี้ (8 ก.พ.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น   ในช่วงที่ผ่านมาได้ตรวจสอบพบว่าคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พยายามพัฒนารูปแบบในการหลอกลวงพี่น้องประชาชน เช่น การสร้างบัญชีปลอมแอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยหลอกลวงผ่านการสนทนาด้วยข้อความ เสียง ตลอดจนการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยหลอกลวงว่าท่านถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ยาเสพติด หรือคดีความต่างๆ จากนั้นจะส่งหมายเรียกหรือหมายศาลปลอมมาให้ เพื่อข่มขู่ให้เกิดความกลัว และยอมทำตามที่คนร้ายหลอกลวง โดยเฉพาะการหลอกให้โอนเงินในบัญชีมาให้คนร้ายตรวจสอบ ทำให้สูญเสียทรัพย์สินให้กับคนร้ายเป็นจำนวนมาก   ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่ากลุ่มคนร้ายมีการทำเว็บไซต์ปลอม เลียนแบบเว็บไซต์ของศาล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น อ้างว่าสามารถตรวจสอบความถูกต้องของหมายเรียกหรือหมายจับที่คนร้ายแอบอ้าง โดยให้กรอกเลขบัตรประชาชนและข้อมูลส่วนตัวอื่นๆเพื่อทำการตรวจสอบที่เว็บไซต์ของศาลซึ่งเป็นเว็บไซต์ปลอม หากพี่น้องประชาชนไม่ตรวจสอบดูให้ดีเสียก่อน อาจหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของคนร้ายได้   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ…

ตำรวจเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว โฟนสแกมหลอกโดนคดีให้โอนเงิน

Loading

  เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบทั้งการทำฟิชชิ่ง โฟนสแกม โทรไปหลอกลวง หรือ ข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล พร้อมคำแนะนำกรณีตกเป็นเหยื่อควรทำอย่างไร พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้ในทางมิชอบ หรือใช้ในการกระทำความผิด สร้างความเสียหายจากกรณีที่มีการนำเสนอทางสื่อทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับอาชญากรรมในลักษณะหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากประชาชน บัตรเครดิต รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ไปใช้หาประโยชน์ในทางมิชอบ ใช้วิธีการในการหลอกลวงหลายรูปแบบ เช่น Phishing mail คือการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมในการหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือ Phone scam คือการโทรไปหลอกลวง หรือข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล จากนั้นเหล่ามิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้หาประโยชน์ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชระเบียนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้มาติดต่ออ้างว่าเป็นนายหน้าขอกู้เงินนอกระบบ โดยลักลอบนำข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนของคนไข้กว่า 10 ราย มาขอกู้เงินจำนวนกว่า 100,000 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดส่งดอกเบี้ยผู้กู้กลับไม่ชำระเงิน และขอผัดผ่อนเรื่อยมาผู้ปล่อยกู้จึงได้ติดตามทวงถามกับลูกหนี้ ซึ่งพบว่าลูกหนี้ทุกรายไม่รู้เรื่อง ทุกคนแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ถูกเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวลักลอบนำเอกสารข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ในการกู้เงิน พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตระหนักถึงพิษภัยดังกล่าวและได้กำชับไปยังทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทุกพื้นที่ ให้เร่งสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ถึงภัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบ พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง รวมถึงให้เร่งทำการสืบสวนสอบสวนปราบปรามและดำเนินคดีมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างจริงจังต่อเนื่อง มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม…